วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์

พืชดอกและพืชไร้ดอก (ชั้นประถมศึกษาปีที่  5)
          พืชที่มีทั้งหมดอาจแบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวกได้หลายแบบอย่าง ในที่นี้จะแบ่งพืชออกเป็นสองกลุ่ม คือ พืชไร้ดอก และพืชมีดอก
พืชไร้ดอก เป็นพืชชั้นต่ำไม่มีดอกเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการสืบพันธุ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
     1. พืชไร้ดอก
1). พืชไร้ดอกที่มีคลอโรฟิลล์ พวกนี้สามารถสังเคราะห์แสงได้เหมือนพืชดอก ได้แก่ สาหร่าย เฟิน ตะไคร่น้ำ
2). พืชไร้ดอกที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ เช่น เห็ด รา ยีสต์ พวกนี้บางชนิดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
          พืชไร้ดอกมีการสืบพันธุ์ได้ต่างกัน ดังนี้ 
         1). การแบ่งเซลล์ เป็นการสืบพันธุ์ของพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก โดยการแบ่งตัวออก เมื่อเซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับพันธ์เดิม พืชที่ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ได้แก่ สาหร่าย  ตะไคร่น้ำ 
         2). การสร้างสปอร์ คือการสืบพันธุ์ที่เป็นผงขนาดเล็กให้เติบโตต่อไป ได้แก่ เห็ด รา มอส เฟิน 
         3). การแตกหน่อ มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งเซลล์พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธินี้ คือ ยีสต์
  2. พืชมีดอก
พืชมีดอก เป็นพืชชั้นสูงที่มีดอกเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้สำหรับขยายพันธุ์ เมื่อดอกได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลและเมล็ด ซึ่งสามารถนำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของพืชดอกได้แก่ ราก ลำต้น และใบ


พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 )
        พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชที่เมล็ดเริ่มงอก จะมีใบเลี้ยงเดี่ยวงอกออกมาเป็นใบแรกของพืช ลักษณะของใบเลี้ยงเดี่ยว มักเป็นใบแคบและตั้งตรง เส้นใบเรียงตัวแบบขนาน มีรากเป็นรากฝอย ลำต้นมีข้อ ปล้อง เห็นชัดเจน  เช่น หญ้า มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด ขิง ข่า ตะไคร้ 
    พืชใบเลี้ยงคู่ เป็นพืชที่เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะมีใบเลี้ยง 2 ใบ งอกออกมาเป็นคู่แรก ลักษณะใบของพืชใบเลี้ยงคู่ มีใบกว้างและอยู่ในแนวนอน เส้นใบเรียงตัวเป็นร่างแห มีรากเป็นรากแก้วและรากแขนง ลำต้นมักมีข้อปล้อง เห็นไม่ชัดเจน เช่น มะเขือ มะเขือเทศ มะม่วง กุหลาบ มะนาว ถั่ว

พันธุกรรม (ชั้นประถมศึกษาปีที่  5)


1. พันธุกรรมคือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง การแปรผันทางพันธุกรรมมีประเภท คือ 
1. การแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง คือ การแปรผันทางพันธุกรรมที่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน เช่น ลักษณะการมีลักยิ้ม ลักษณะการห่อลิ้น เป็นต้น
2. การแปรผันแบบต่อเนื่อง คือ การแปรผันทางพันธุกรรมที่ลักษณะไม่สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจน อาจมีสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความสูง สีผิว สติปัญญา เป็นต้น
2. พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น