วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

มาตราตัวสะกด (ชั้นประถมศึกษาปีที่  3)
          การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่าง ๆ จะทำให้เราสามารถเขียนและอ่านคำไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาตราตัวสะกดของไทย คืออะไร และต้องใช้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ
          มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น ตา เมื่อประสมกับ ล กลายเป็น ตาล, ชา เมื่อประสมกับ ม  กลายเป็น ชาม เป็นต้น

          มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา  คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด โดยอ่านออกเสียงเป็นสระ เช่น หู  ตา ขา ลา กา ปลา เสือ โต๊ะ ตู้ ประตู ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน

สำหรับการใช้มาตราตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้
        แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กางเกง กระโปรง รองเท้า หนังสือ โรงเรียน ยางลบ เตียง พวงกุญแจ กล่องดินสอ ห่วงยาง ฯลฯ
        แม่กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ม เช่น ร่ม ส้อม พัดลม กระดุม แชมพู โฟมล้างหน้า สนามกีฬา เข็มกลัด โคมไฟ ไอศกรีม ฯลฯ
        แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย ทางม้าลาย น้อยหน่า พลอย นักมวย  รอยเท้า ไฟฉาย ถ้วยกาแฟ ป้ายจราจร
        แม่เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ว เช่น คอมพิวเตอร์ แก้วน้ำ มะนาว ไข่เจียว ก๋วยเตี๋ยว ทิวทัศน์ มะพร้าว ต้นข้าว ดวงดาว บ่าวสาว นิ้ว ฯลฯ
2. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ
          แม่กน  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ  น ญ ณ ร ล ฬ เช่น ช้อน กรรไกร บันได ยาสีฟัน โลชั่น ฟุตบอล การบ้าน ตู้เย็น ปฏิทิน เหรียญ แจกัน
          แม่กก  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ก ข ค ฆ เช่น  กระจก หมวก คุกกี้  ที่พัก ก้อนเมฆ ตุ๊กตา กระติกน้ำ เนคไท สติ๊กเกอร์ จิ๊กซอว์ สุนัข
         แม่กด  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น กระดาษ สมุดโน้ต ไม้บรรทัด นิตยสาร ไม้กวาด คีย์บอร์ด เสื้อเชิ้ต เตารีด โทรทัศน์ โปสเตอร์ รถเมล์
          แม่กบ  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ บ ป ภ พ ฟ เช่น โทรศัพท์ รูปถ่าย ไมโครเวฟ ลิปสติก ธูปเทียน กรอบรูป ทัพพี ตะเกียบ ตลับยา แท็บเล็ต

สระ  ในภาษาไทย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)
พยัญชนะไทย มี ๔๔ ตัว คือ

สระมี ๓๒ ตัวคือ



วรรณยุกต์  ภาษาไทย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 )
        วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า "วรรณยุกต์" ด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง
เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
รูปวรรณยุกต์
เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้
ไม้เอก (-่), ไม้โท (-้), ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)
อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋) เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)
การผันเสียงวรรณยุกต์
โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ 5 เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้
หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย
เสียงสามัญ
เสียงเอก
เสียงโท
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็น
กา
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น
-
กะ
ก้ะ
ก๊ะ
ก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว
-
กาบ
ก้าบ
ก๊าบ
ก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น
-
ข่า
ข้า
-
ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น
-
ขะ
ข้ะ
-
-
อักษรสูง คำตาย สระยาว
-
ขาบ
ข้าบ
-
-
อักษรต่ำ คำเป็น
คา
-
ค่า
ค้า
-
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น
-
-
ค่ะ
คะ
ค๋ะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว
-
-
คาบ
ค้าบ
ค๋าบ

         คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ
        อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ 5 เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี




แหล่งที่มา
http://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น