วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์

พืชดอกและพืชไร้ดอก (ชั้นประถมศึกษาปีที่  5)
          พืชที่มีทั้งหมดอาจแบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวกได้หลายแบบอย่าง ในที่นี้จะแบ่งพืชออกเป็นสองกลุ่ม คือ พืชไร้ดอก และพืชมีดอก
พืชไร้ดอก เป็นพืชชั้นต่ำไม่มีดอกเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการสืบพันธุ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
     1. พืชไร้ดอก
1). พืชไร้ดอกที่มีคลอโรฟิลล์ พวกนี้สามารถสังเคราะห์แสงได้เหมือนพืชดอก ได้แก่ สาหร่าย เฟิน ตะไคร่น้ำ
2). พืชไร้ดอกที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ เช่น เห็ด รา ยีสต์ พวกนี้บางชนิดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
          พืชไร้ดอกมีการสืบพันธุ์ได้ต่างกัน ดังนี้ 
         1). การแบ่งเซลล์ เป็นการสืบพันธุ์ของพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก โดยการแบ่งตัวออก เมื่อเซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับพันธ์เดิม พืชที่ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ได้แก่ สาหร่าย  ตะไคร่น้ำ 
         2). การสร้างสปอร์ คือการสืบพันธุ์ที่เป็นผงขนาดเล็กให้เติบโตต่อไป ได้แก่ เห็ด รา มอส เฟิน 
         3). การแตกหน่อ มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งเซลล์พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธินี้ คือ ยีสต์
  2. พืชมีดอก
พืชมีดอก เป็นพืชชั้นสูงที่มีดอกเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้สำหรับขยายพันธุ์ เมื่อดอกได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลและเมล็ด ซึ่งสามารถนำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของพืชดอกได้แก่ ราก ลำต้น และใบ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

มาตราตัวสะกด (ชั้นประถมศึกษาปีที่  3)
          การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่าง ๆ จะทำให้เราสามารถเขียนและอ่านคำไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาตราตัวสะกดของไทย คืออะไร และต้องใช้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ
          มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น ตา เมื่อประสมกับ ล กลายเป็น ตาล, ชา เมื่อประสมกับ ม  กลายเป็น ชาม เป็นต้น

          มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา  คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด โดยอ่านออกเสียงเป็นสระ เช่น หู  ตา ขา ลา กา ปลา เสือ โต๊ะ ตู้ ประตู ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน

สำหรับการใช้มาตราตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้
        แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กางเกง กระโปรง รองเท้า หนังสือ โรงเรียน ยางลบ เตียง พวงกุญแจ กล่องดินสอ ห่วงยาง ฯลฯ
        แม่กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ม เช่น ร่ม ส้อม พัดลม กระดุม แชมพู โฟมล้างหน้า สนามกีฬา เข็มกลัด โคมไฟ ไอศกรีม ฯลฯ
        แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย ทางม้าลาย น้อยหน่า พลอย นักมวย  รอยเท้า ไฟฉาย ถ้วยกาแฟ ป้ายจราจร
        แม่เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ว เช่น คอมพิวเตอร์ แก้วน้ำ มะนาว ไข่เจียว ก๋วยเตี๋ยว ทิวทัศน์ มะพร้าว ต้นข้าว ดวงดาว บ่าวสาว นิ้ว ฯลฯ
2. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ
          แม่กน  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ  น ญ ณ ร ล ฬ เช่น ช้อน กรรไกร บันได ยาสีฟัน โลชั่น ฟุตบอล การบ้าน ตู้เย็น ปฏิทิน เหรียญ แจกัน
          แม่กก  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ก ข ค ฆ เช่น  กระจก หมวก คุกกี้  ที่พัก ก้อนเมฆ ตุ๊กตา กระติกน้ำ เนคไท สติ๊กเกอร์ จิ๊กซอว์ สุนัข
         แม่กด  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น กระดาษ สมุดโน้ต ไม้บรรทัด นิตยสาร ไม้กวาด คีย์บอร์ด เสื้อเชิ้ต เตารีด โทรทัศน์ โปสเตอร์ รถเมล์
          แม่กบ  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ บ ป ภ พ ฟ เช่น โทรศัพท์ รูปถ่าย ไมโครเวฟ ลิปสติก ธูปเทียน กรอบรูป ทัพพี ตะเกียบ ตลับยา แท็บเล็ต

สระ  ในภาษาไทย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)
พยัญชนะไทย มี ๔๔ ตัว คือ